หากคุณสนใจบทความนี้ก็คงยอมรับแล้วล่ะสิว่า คุณก็เป็นหนึ่งในพ่อแม่ลูกวัยรุ่นที่กำลังหัวฟูและหัวหมุนกับการเลี้ยงเจ้าตัวดีที่ในอีกไม่ช้าก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่ก่อนที่ลูกจะโตจนไม่ต้องเลี้ยง จะดีกว่าไหมหากเรารู้วิธีเลี้ยงลูกวัยรุ่นให้หัวหมุนน้อยลงและป้องกันการเป็นพ่อแม่หมดไฟในที่สุด
ลูกอายุเท่าไรจึงจะเรียกว่า “วัยรุ่น”?
- วัยรุ่นตอนต้น (วัยแรกรุ่น) อายุระหว่าง 11 - 14 ปี
- วัยรุ่นตอนกลาง อายุระหว่าง 14 - 17 ปี
- วัยรุ่นตอนปลาย อายุระหว่าง 17 - 20 ปี
แม้ลูกวัยรุ่นจะโตแล้ว แต่ทำไมยังทำให้พ่อแม่ปวดหัวหรือมีภาวะพ่อแม่หมดไฟได้ล่ะ?
เวลาที่เราเรียก “วัยรุ่น” มักจะมีคำว่า “เด็ก” นำหน้าเสมอ เหมือนอย่างคำว่า “เด็กชาย” และ “เด็กหญิง” นั่นเพราะวัยรุ่นก้ำกึ่งระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ จะเป็นเด็กก็ไม่ใช่ จะเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่เชิง ดังนั้นการคิด การตัดสินใจ การกระทำ จึงอาจผิดพลาดไปตามวัยที่ยังไม่ “ถึง” ของเขา
ซึ่งเอาเข้าจริงผู้ใหญ่วัยกลางคนหรือแม้แต่ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนยังทำตัวเหมือนวัยรุ่นใจร้อนใจเร็วก็มีให้เห็นถมไป นอกจากนี้ลูกวัยรุ่นบางคนก็โตแต่ตัว ความคิดและพฤติกรรมยังเหมือนเด็กเล็กๆ ซึ่งอาจมีพื้นฐานมาจากการเลี้ยงดูแบบประคบประหงมหรือตามใจเกินเหตุของพ่อแม่เอง
สิ่งนี้ที่ลูกวัยรุ่นต้องการ คนเป็นพ่อแม่ทราบแล้วเปลี่ยน (แปลง) ด่วน!
ยิ่งเติบใหญ่ความต้องการของคนเราก็มากขึ้นตามอายุ กับลูกวัยรุ่นก็เช่นกัน หากพ่อแม่เข้าใจในความต้องการและตอบสนองอย่างตรงจุดโดนใจ ลูกวัยรุ่นที่เคยเลี้ยงยากก็จะอยู่ในอาคม เคยเป็นพ่อแม่หมดไฟก็จะกลับมามีไฟลุกโชนอีกครั้งด้วย มาดูว่าลูกวัยรุ่นต้องการสิ่งใดจากคุณ
- อยากให้พ่อแม่ (กล้า) ปล่อยมือ
เพราะธรรมชาติของวัยรุ่นไม่ชอบให้ (พ่อแม่) บีบบังคับควบคุม ต้องการอิสระ และรักความเป็นส่วนตัว (สูง) - อยากบอกว่าหนูโต (ทัน) แล้วนะ
ลูกวัยรุ่นต้องการให้พ่อแม่และคนรอบข้างปฏิบัติกับเขาแบบผู้ใหญ่ ไม่ใช่เด็กเล็กๆ ที่น่ารักน่าเอ็นดู - รักดีๆ ที่ต้องการ
ลูกวัยรุ่นอาจเขินอายที่จะเข้าหาและแสดงความรักต่อพ่อแม่เหมือนตอนเป็นเด็ก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องการความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่อีกต่อไป ซึ่งจากการวิจัย เด็กวัยรุ่นที่ขาดในส่วนนี้มีแนวโน้มที่จะกระทำความผิดมากกว่าเด็กวัยรุ่นที่มีครอบครัวอบอุ่น และนอกเหนือจากความรักของพ่อแม่แล้ว ความรักแบบเพื่อนฝูงและแบบหญิงชายก็เป็นอีกความรักหนึ่งที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ของลูกวัยรุ่น พ่อแม่แค่ดูห่างๆ อย่างห่วงๆ ให้เขาได้ตัดสินใจเลือกคบคนที่เขาคิดว่าเหมาะสมก็พอแล้ว - ขอแสงส่องมาทางนี้บ้าง!
เพราะวัยรุ่นเป็นวัยร้อนวิชา หากมีของดีก็ต้องการประกาศหรือแสดงให้ผู้อื่นรับทราบ อย่างน้อยคนใกล้ชิดอย่างพ่อแม่ก็ควรให้ความสนใจในของดีหรือความสามารถ (ที่อาจไม่ค่อย) พิเศษของลูกบ้าง - ขอพูดด้วยคนสิ
ยุคนี้เป็นยุคของการแสดงความคิดเห็นที่ไม่ว่าวัยรุ่นหรือวัยใดก็สามารถทำได้อย่างเปิดเผยและค่อนข้างตรงไปตรงมาในโลกโซเชียล กับการแสดงความคิดเห็นในครอบครัว พ่อแม่ควรให้สิทธิ์ลูกด้วย ซึ่งคุณอาจทึ่งในความคิดสดใหม่และสร้างสรรค์ของเขา - แสวงหาคำตอบมากมาย...
วัยรุ่นเป็นวัยแห่งการหาคำตอบเกี่ยวกับชีวิตของเขา เช่น เกิดมาทำไม? เรียนไปเพื่ออะไร? นับถือศาสนาไหนดี? ความยุติธรรมในโลกนี้มีจริงหรือ? - ได้แสดงออกเกี่ยวกับเพศ
อย่างการแต่งกายที่แสดงออกถึงเพศสภาพของตัวเอง หรือกลับกันในเด็กวัยรุ่นที่มีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับจิตใจ - โตแล้วหาเงินเองได้
วัยรุ่นเป็นวัยที่เตรียมพร้อมและเริ่มมองหาลู่ทางในการประกอบอาชีพหรือหาเงิน ซึ่งคนเป็นพ่อแม่ควรสังเกตว่าลูกมีความสามารถหรือถนัดในด้านใด สามารถส่งเสริมให้ทำเป็นอาชีพจริงจังหรือเป็นอาชีพเสริมได้หรือไม่ ที่สำคัญอย่าชี้นิ้วแต่ควรชี้แนะและให้เขาได้ลองผิดลองถูกเพื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพราะวันข้างหน้าที่เติบใหญ่อย่างไรเขาก็ต้องได้ลองผิดลองถูกอีกหลายๆ ครั้งโดยไม่มีคุณอยู่ดี
สิ่งที่พ่อแม่เลี้ยงลูกวัยรุ่นต้องทำความเข้าใจและคิดใหม่ทำใหม่
- บางครั้งมันอาจจะนานเกินไปที่พ่อแม่ลูกวัยรุ่นจะหลงลืมว่าตนก็เคยเป็นวัยรุ่นมาก่อน ทำให้รู้สึกว่าตอนเล็กๆ ลูกก็เลี้ยงง่าย แต่อยู่ดีๆ ก็เกิดเลี้ยงยากเลี้ยงเย็นขึ้นมาซะอย่างนั้น ดังนั้นบอกตัวเองว่าอย่างน้อยเราก็เคยเป็นวัยรุ่นเช่นเดียวกับลูก จะได้ไม่รู้สึกแปลกแยกและเห็นลูกเป็นตัวประหลาด
- พ่อแม่บางคนอาจคิดว่าเลี้ยงลูกวัยรุ่นไม่ยากอย่างที่คิด เพราะตนเคยเป็นวัยรุ่นมาก่อนย่อมเข้าใจลูกวัยรุ่นได้ดี แต่อย่าลืมว่าวัยรุ่นสมัยนู้นกับวัยรุ่นสมัยนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงด้วยบริบทของความคิดความเชื่อ ค่านิยม สิ่งแวดล้อม และโลกที่หมุนเร็วจี๋จนตามไม่ทัน ไม่ว่าคุณจะมีลูกวัยรุ่นหรือวัยวุ่นขนาดไหนก็ตาม เราขอเป็นกำลังใจในการเลี้ยงดูเขาให้เติบใหญ่อย่างมีคุณภาพ และสำหรับพ่อแม่คนไหนที่รู้สึกว่าตัวเองเริ่มหมดไฟ เบื่อหน่ายกับการเลี้ยงลูกแล้วล่ะก็ อย่าปล่อยให้ภาวะลบๆ นี้อยู่กับคุณนานจนยากเกินเยียวยาซึ่งนั่นอาจหมายถึงครอบครัวล่มสลาย...
ศูนย์ดูแลสุขภาพ 180 แซงชัวรี มีหลักสูตรการรักษาปัญหาสุขภาพจิต ที่เป็นผลลัพธ์จากการมีประสบการณ์ในการดูแลพ่อแม่หมดไฟเลี้ยงลูกวัยรุ่น โดยนักจิตบำบัดผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยค้นหาต้นตอของปัญหาที่แท้จริง ให้การรักษา และให้คำแนะนำวิธีการรับมือที่ดี เพื่อที่คุณจะได้ก้าวเท้าออกจาก 180 แซงชัวรี ไปพร้อมกับความมั่นใจและความเข้มแข็งที่จะคงอยู่ต่อไปกับคุณในระยะยาว
บรรยากาศอันเงียบสงบและทัศนียภาพอันสวยงามผ่านวิวแบบพาโนรามาของเทือกเขาอันเขียวชอุ่มจะช่วยเยียวยาจิตใจเพื่อให้คุณมีสมาธิ และสามารถโฟกัสกับการบำบัดรักษาอย่างเต็มที่
หากคุณสนใจเข้ารับการรักษาแบบอยู่ประจำที่ศูนย์ดูแลสุขภาพ 180 แซงชัวรี ความช่วยเหลือจากทีมผู้เชี่ยวชาญของเราอยู่เพียงแค่เอื้อมมือ ยกหูโทรศัพท์หาเราเพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้ารับการรักษา
ได้ที่เบอร์ 095 - 904 - 9009 หรือติดต่อเราได้ที่
https://180sanctuary.com (คลิกแล้ว link ไปที่ contact us)
หรือ https://www.facebook.com/180Sanctuary (คลิกที่สอบถาม 180 Sanctuary)
เพื่อนำไฟแห่งความสุขสันต์ในครอบครัวกลับมาลุกโชนอีกครั้ง
Ref :
สสส.(ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์).
https://www.enconcept.com/main_index/9-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83/
ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน.(ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์).
https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/kids/05.html
อาจารย์สุรางค์ เชื้อวณิชชากร.(ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์).
file:///C:/Users/Intel/Downloads/Documents/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99.pdf