blog >> ทำความเข้าใจคนเป็น “โรคไบโพลาร์” ทำยังไงให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ทำความเข้าใจคนเป็น “โรคไบโพลาร์” ทำยังไงให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ทำความเข้าใจคนเป็น “โรคไบโพลาร์

 

 

โรคไบโพลาร์คือโรคที่เรามักได้ยินในหนังในละครอยู่บ่อย ๆ จนทำให้เราเข้าใจว่าโรคไบโพลาร์ คือโรคทางจิตที่ทำให้ผู้ป่วยเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เหวี่ยงไปมา แต่ความจริงแล้วโรคไบโพลาร์มีลักษณะอาการที่พิเศษกว่านั้นมาก และยังเป็นโรคที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่คนรอบข้างเขาจะต้องให้ความสนใจ และร่วมมือกันช่วยบรรเทาความรุนแรง เพื่อให้ผู้ป่วยไบโพลาร์มีอาการที่ดีขึ้น สามารถเข้าสังคมได้ดี  ที่สำคัญคือทั้งคุณและเขา ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข   

โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder) คืออะไร  
โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ซึ่งจะมีทั้งอารมณ์ดีและอารมณ์ร้ายสลับกัน คือจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ระหว่างอารมณ์ซึมเศร้า (major depressive episode) สลับกับช่วงอารมณ์ดีเกินปกติ (hypomania หรือ mania) ทำให้คนรอบข้างเห็นได้ชัดว่า เมื่อผู้ป่วยอารมณ์ดีก็จะดีจนล้น แต่เมื่อเข้าสู่อารมณ์ซึมเศร้าก็จะดำดิ่งมาก  

สาเหตุของโรคไบโพลาร์
สาเหตุของโรคไบโพลาร์เชื่อว่ามาจากปัจจัยต่าง ๆ  เช่น

  • เกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทที่อยู่ในสมอง หรือระบบฮอร์โมนต่าง ๆ ทำงานผิดเพี้ยน จนทำให้ส่งผลกระทบต่อสมองส่วนที่ช่วยควบคุมอารมณ์
  • อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ เช่น ถ้ามีพ่อหรือแม่ป่วยเป็นโรคนี้เพียงคนเดียว รุ่นลูกก็จะมีโอกาสเป็นถึง 15-30 % แต่ถ้ามีทั้งพ่อและแม่เป็นโรคไบโพลาร์ ลูกก็จะมีโอกาสเสี่ยงมากถึง 50-75 % 
  • มาจากสาเหตุของผู้ป่วยเอง ซึ่งมักจะเกิดจากปัญหาการพยายามปรับตัวให้เข้าสังคม จึงทำให้เกิดความเครียดสูง   

อาการที่เห็นได้ชัดของคนเป็นโรคไบโพลาร์
โรคไบโพลาร์ มีอาการที่แสดงออกชัดเจน คือจะมีช่วงพีคของอารมณ์ซึมเศร้าและอารมณ์ดีผิดปกติ ดังนี้ 
ขณะที่มีอารมณ์ซึมเศร้า (depressive episode) ก็มักจะ…

  • อาการซึมเศร้าจะยืนพื้น และมักจะร้องไห้บ่อย ๆ
  • หงุดหงิดง่าย
  • ไม่สนใจกิจกรรมใด ๆ เพราะไม่ได้รู้สึกว่าทำแล้วมีความสุข 
  • ดูอ่อนเพลียเสมอ
  • ไม่ค่อยมีสติ ขาดสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้เอง
  • คิดหรือพูดเรื่องการฆ่าตัวตายบ่อย ๆ เนื่องจากรู้สึกว่าตนไม่มีคุณค่า 
  • บางครั้งก็กระสับกระส่าย แต่บางครั้งก็เชื่องช้าผิดปกติ

ขณะที่มีอารมณ์ดีจนล้น (mania) ก็มักจะ…

  • ร่าเริงเบิกบานจนน่าประหลาดใจ
  • แสดงออกถึงความมั่นใจในตนเองมาก และชอบพูดว่าตนทำได้
  • เชื่อมั่นไปเองว่าตนมีอำนาจหรือมีพลังมาก
  • คิดเร็วทำเร็วแบบปรู๊ดปร๊าดจนตามไม่ทัน
  • พูดมาก พูดไปเรื่อย
  • นอนน้อยลง
  • ลุกลี้ลุกลน เคลื่อนไหวตลอดทั้งวัน
  • หลงใหลง่าย ไม่ค่อยยับยั้งชั่งใจ หรือถูกสิ่งเร้าภายนอกกระตุ้นได้ง่าย

ระยะของโรคไบโพลาร์
ระยะของโรคไบโพลาร์ มี 2 ระยะใหญ่ ๆ คือ

  1. ระยะอารมณ์ซึมเศร้า (depressive episode) มักจะอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ติดต่อกัน    
  2. ระยะอารมณ์ดีผิดปกติ (mania) จะอยู่ประมาณ 4 วัน    

“โรคไบโพลาร์” ความผิดปกติของเขา…เราช่วยบรรเทาได้
อาการของโรคไบโพลาร์บางอย่าง คนใกล้ชิดหรือคนรอบข้าง ก็สามารถช่วยบรรเทา หาวิธีรับมือ หรือฝึกการพยาบาลผู้ป่วยไบโพลาร์ได้ เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจเขา เห็นอกเห็นใจ และจะได้ไม่มีปัญหาในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งคุณจะรับมือกับอาการไบโพลาร์ได้ดีขึ้น หากนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ เช่น 

  1. อาการ : หงุดหงิดง่ายอย่างน้อย 1 สัปดาห์
    การรับมือ : การรับมือเมื่อคนใกล้ชิดเป็นโรคไบโพลาร์ และเขาแสดงอาการหงุดหงิดแทบจะตลอดเวลา สิ่งสำคัญก็คือคุณต้องเข้าใจว่าเป็นธรรมชาติของโรค เขาเองก็ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น ดังนั้นความอดทนของคุณก็จะทำให้เขาไม่รู้สึกว่าเป็นตัวร้ายที่ทำลายชีวิตคุณ
  2. อาการ : ทำงานไม่สำเร็จ ทำไม่เสร็จเพราะอาการไบโพลาร์   
    การรับมือ : หากคนใกล้ชิดของคุณเป็นโรคไบโพลาร์ การดูแลเรื่องการงานให้เขาด้วย ก็จะช่วยให้เขาไม่เครียดจนเกินไป เพราะเมื่อเขาเข้าโหมดซึมเศร้าเมื่อไร อาการของโรคก็จะขัดขวางการทำงาน ทำให้เขาทำอะไรไม่ค่อยสำเร็จ ดังนั้นคุณจึงควรกระตุ้นให้เขาทำงานให้เสร็จ หรือช่วยแบ่งเบางานเขาอย่างเหมาะสม แต่ก็ไม่ควรยกมาทำเองหมดจนเขาเคยตัว
  3. อาการ : ความคิดแล่นเร็ว (flight of idea) จนตามไม่ทัน
    การรับมือ : คนที่เป็นไบโพลาร์จะมีความคิดที่แล่นเร็วมาก จนแม้แต่ตัวเขาเองก็พูดแทบไม่ทัน ดังนั้นถ้าคุณฟังไม่ทันก็ควรขอให้เขาอธิบายช้า ๆ อีกครั้งเพื่อเป็นการเรียกสติเขาให้คืนมา และทำให้เขาเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้ช้าลง เพื่อเข้ากับคนอื่นให้มากขึ้น
  4. อาการ : วอกแวก ขาดสมาธิ
    การรับมือ : คนที่เป็นไบโพลาร์จะมีช่วงที่เบลอมาก ขาดสมาธิ และดึงกลับมาลำบาก ดังนั้นหากคุณพาเขามาอยู่กับธรรมชาติให้มากขึ้น ลดความจอแจวุ่นวายในตัวเมือง ก็จะช่วยให้เขารู้ว่าเมื่อนิ่งให้เป็นก็จะเห็นสิ่งที่สวยงาม 
  5. อาการ : เคลื่อนไหวตลอดเวลา ไม่สามารถหยุดนิ่งได้
    การรับมือ : ไบโพลาร์จะทำให้ผู้ป่วยซนเป็นลูกลิง ดังนั้นพาเขาเข้าร้านกาแฟ Slow life ดูบ้าง นอกจากจะช่วยให้เขาไม่สามารถทำกิจกรรมนั่นนี่ได้แล้ว ก็จะทำให้เขาเห็นว่า ผู้คนรอบตัวก็สามารถมีความสุขได้แม้จะนั่งจิบกาแฟเฉย ๆ
  6. อาการ : ยับยั้งชั่งใจทำเรื่องไม่ดีงามไม่ได้  
    การรับมือ : คุณควรเตือนผู้ป่วยด้วยความรู้สึกห่วงใย อย่าทำให้เขารู้สึกถูกจ้องจับผิด เพราะแม้สิ่งที่เขากำลังหมกมุ่นอยู่จะเป็นสิ่งไม่ดีเลย เช่น เล่นการพนัน ดื่มเหล้าหนัก เสพสารเสพติด แต่การถนอมน้ำใจเขา ก็จะช่วยให้เขาฟังคุณมากขึ้น  
  7. อาการ : ใช้จ่ายมือเติบเพราะความหน้าใหญ่
    การรับมือ : คนที่เป็นไบโพลาร์จะมีช่วงที่หน้าใหญ่ใจโต หากมีเงินในมือก็จะจับจ่ายอย่างมีความสุข ชอบการทำบุญ ชอบบริจาค จนไม่รู้ตัวว่าใช้ไปมากแค่ไหน ดังนั้นอย่าให้เงินอยู่ในมือเขา คุณควรเฝ้าระวังการใช้เงินให้ดี หากจะให้เขาใช้ก็ควรให้ทีละน้อย และจำเป็นต้องมีกฎกติกาในการใช้เงินด้วย
  8. อาการ : มีความสุขแบบสุดโต่ง
    การรับมือ : ผู้ที่เป็นไบโพลาร์จะมีช่วงที่อารมณ์ดี เบิกบานสุดขีด จนรู้สึกได้ว่า “ล้น” เกินไป  ซึ่งเมื่อเขาเข้าสู่ภาวะนี้ คุณไม่ควรปล่อยให้เขามีความสุขมากเกินปกติ เพราะสักพักอารมณ์ที่เคยพีคสุขสุด ก็จะยิ่งจมดิ่งหนักมาก ดังนั้นคุณจึงต้องใช้วิธีหันเหความสนใจ หรือชวนเขาพูดคุยเรื่องอื่นบ้าง
  9. อาการ : เอาแต่ใจตัว หรือร้องขอมากผิดปกติ
    การรับมือ : ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยไบโพลาร์ไม่ควรตามใจเขาเสียทุกอย่าง คุณจึงควรให้อย่างเหมาะสม ให้ในสิ่งที่เขาสมควรได้รับ และต้องใจแข็งเมื่อเขาแสดงอาการเรียกร้องมากผิดปกติ
  10. อาการ : อาละวาดขาดสติเมื่อโกรธหรือไม่ได้ดังใจ
    การรับมือ : เมื่อผู้ป่วยไบโพลาร์อาละวาด คุณควรปล่อยเขาสักพัก อย่าเต้นตาม เพื่อให้เขาเกิดการเรียนรู้ว่า เขาจะไม่ได้รับการยอมรับเมื่อทำพฤติกรรมแบบนี้ แต่สิ่งสำคัญก็คือคุณต้องจับตาดูเขา อย่าให้เขาคลาดสายตา  เพื่อไม่ให้เขาทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นได้ 

หากคุณมีคนในครอบครัวเป็นโรคไบโพลาร์ และกำลังมองหาสถานที่บำบัดซึ่งผ่อนคลายได้มาตรฐาน  ให้เรา 180 แซงชัวรีได้ช่วยคุณ เพราะศูนย์ดูแลสุขภาพ 180 แซงชัวรีของเรามีคอร์สการรักษาปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งเรามีประสบการณ์ในการดูแลผู้ที่มีภาวะไบโพลาร์โดยตรง โดยนักจิตบำบัดผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยค้นหาต้นตอของปัญหาที่แท้จริง ให้การรักษา และให้คำแนะนำวิธีการรับมือที่ดี เพื่อที่เขาได้ก้าวเท้าออกจาก 180 แซงชัวรี  ไปพร้อมกับความมั่นใจและความเข้มแข็ง ที่จะคงอยู่ต่อไปกับเขาในระยะยาว

บรรยากาศอันเงียบสงบ และทัศนียภาพอันสวยงามผ่านวิวแบบพาโนรามาของเทือกเขาอันเขียวชอุ่มจะช่วยเยียวยาจิตใจเพื่อให้เขามีสมาธิ และสามารถโฟกัสกับการบำบัดรักษาอย่างเต็มที่

หากคุณสนใจให้เขาเข้ารับการรักษาแบบอยู่ประจำที่ศูนย์ดูแลสุขภาพ 180 แซงชัวรี  ความช่วยเหลือจากทีมผู้เชี่ยวชาญของเราอยู่เพียงแค่เอื้อมมือ ยกหูโทรศัพท์หาเราเพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้ารับการรักษา ได้ที่เบอร์ 095 904 9009 หรือติดต่อเรา “180 แซงชัวรี” ได้ที่
https://180sanctuary.com (คลิกแล้ว link ไปที่ contact us)
หรือ https://www.facebook.com/180Sanctuary (คลิกที่สอบถาม 180 Sanctuary)


Ref : 
คลินิกจิตเวช ธรรมศาสตร์.(ไม่ปรากฏปีที่เขียน).โรคอารมณ์สองขั้ว https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1105
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน.(2021).จะรับมือยังไง...เมื่อเป็น “โรคไบโพล่าร์” https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95/Bipolar-Disorder
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางอารมณ์(Mood Disorders).(ไม่ปรากฏที่เขียน). http://www.elnurse.ssru.ac.th/noppawan_ku/pluginfile.php/204/block_html/content/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%205%20%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%8C%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%9413%E0%B8%81%E0%B8%A2..pdf
Patcharee Bonkham.(2018). 8 สัญญาณที่อาจเข้าข่ายเป็นโรคไบโพล่าร์.https://www.thaihealth.or.th/Content/40734-8%20%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C.html

 

Contact 180 Sanctuary today

Contact Us